“8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต” (2)
คอนเทนต์ซีรีย์ “ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหาจาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว
ใน Ep. 5 ได้พาท่านไปทบทวนกระบวนยุทธพื้นฐานการซ่อมแซมคอนกรีตด้วยการ การฉาบด้วยมือโดยใช้เกรียง (Trowel applied) และ การซ่อมแบบดราย แพ็คกิ้ง (Dry Packing) ไปแล้ว สำหรับ Ep. ที่ 6 นี้ จะไปทบทวนอีก 2 กระบวนท่า คือ การพ่นคอนกรีตแบบแห้ง (Dry-mix shotcrete) และ การพ่นคอนกรีตแบบเปียก (Wet-mix shotcrete)
“8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต”
กระบวนท่าที่ 3 การพ่นคอนกรีตแบบผสมแห้ง (Dry-mix shotcrete)
Dry-mix shotcrete คือ การพ่นคอนกรีตแบบผสมแห้ง หรือ แบบแห้ง โดยการพ่นมอร์ตาร์สำหรับงานพ่นคอนรีต (Shotcrete) ผ่านหัวฉีดพ่นโดยใช้ความดันลมความเร็วสูงไปยังพื้นผิวที่ต้องการ มอร์ตาร์ที่ใช้จะถูกส่งผ่านโดยท่อที่ใช้ความดันจากอากาศไปยังหัวฉีดที่มีตัวจ่ายน้ำเพื่อเติมน้ำให้กับวัสดุ ส่วนผสมนี้จะถูกพ่นออกจากหัวฉีดด้วยความเร็วสูงไปยังพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ (วัสดุสำหรับงานงานกรีตแบบพ่นที่จะใส่ไปยังเครื่องพ่นคอนกรีตและเครื่องผสมอาจเป็นวัสดุที่แห้งหรือมีความชื้นเล็กน้อยได้)
เคล็ดลับกระบวนท่าที่ 3 – การพ่นคอนกรีตแบบผสมแห้ง: เหมาะกับการทำงานในพื้นที่แนวตั้งและงานเหนือศีรษะขนาดใหญ่ที่มีเหล็กเสริมขนาดเล็ก 19 มม. หรือน้อยกว่าเหมาะกับงานที่เหล็กเสริมค่อนข้างน้อย
กฏเหล็กด้านวัสดุ: ข้อกำหนดด้านวัสดุสำหรับงานพ่นคอนกรีตแบบแห้ง มวลรวม (กรวด/ทราย) ต้องได้ส่วนขนาดคละกันดี พร้อมด้วยสารยึดเกาะที่จำเป็นซึ่งโดยทั่วไปคือซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีความสำคัญต่องานพ่นคอนกรีต ส่วนผสมต้องได้รับการปรับสัดส่วนเพื่อชดเชยการสูญเสียในการยึดเกาะ สารผสมเพิ่ม (Admixture) มักจะนำมาใช้ลดหรือเพิ่มระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต เพื่อให้ได้ความหนาของเลเยอร์ในครั้งเดียว
วัสดุคู่กาย งานพ่นมอร์ตาร์แบบผสมแห้ง:
Conpatch GC:
คอนแพทช์ จีซี วัสดุสำหรับงานพ่นคอนกรีต แบบแห้ง ให้กำลังอัดสูง การหดตัวต่ำ ทนต่อการซึมน้ำเข้า
EN1504 part 9 and EN1504 part 3.
Principle 3: Concrete Restoration (CR).
Method 3.3 – Spraying concrete or mortar. –
Principle 7: Preserving or restoring passivity (RP).
Method 7.1 – Increasing cover to reinforcement with additional concrete or mortar.
Method 7.2 – Replacing contaminated or carbonated concrete.
Elastoclad
อีลาสโตแคลด วัสดุเคลือบผิวเพื่อปกป้องคอนกรีต ผสมสารยั้บยั้งกระบวนการคาร์บอเนชั่น (Anti Carbonation) ที่เป็นสาเหตุให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ
EN 1504-2 EN 1504 PART 9 – Principles & Methods Related to defect in concrete,
Principle 1 Protection against ingress (PI),
Principle 2 Moisture control (MC)
กระบวนท่าที่ 4 – การพ่นคอนกรีตแบบผสมเปียก (Wet-mix shotcrete)
Wet-mix shotcrete คือ การพ่นคอนกรีตแบบผสมเปียก โดยนำการนำวัสดุที่ผสมเสร็จแล้วทุกส่วนผสม (ซึ่งได้แก่น้ำ ซีเมนต์ และวัสดุผสม) นำมาบรรจุลงในเครื่องปั๊มหรือถังอัดอากาศเพื่อส่งวัสดุที่ผสมแล้วไปยังหัวฉีดที่มีการอัดอากาศ วัสดุสำหรับพ่นคอนกรีตจะถูกฉีดไปยังพื้นผิวที่เตรียมไว้แล้วด้วยแรงอัดอากาศ
เคล็ดลับกระบวนท่าที่ 4 – การพ่นคอนกรีตแบบผสมเปียก: เหมาะกับการทำงานในพื้นที่แนวตั้งและพื้นที่มีเหล็กเสริมขนาดเล็ก 19 มม. หรือน้อยกว่าเหมาะกับงานที่เหล็กเสริมค่อนข้างน้อย
กฏเหล็กด้านวัสดุ: ข้อกำหนดด้านวัสดุสำหรับงานพ่นคอนกรีตแบบผสมเปียก คือ ต้องสามารถปั๊มได้ ค่าการยุบตัวต่ำ และไม่ไหลย้อยเมื่อฉีดพ่นลงบนพื้นผิวที่ต้องการ
วัสดุคู่กาย งานพ่นคอนกรีตแบบผสมเปียก:
Cormix AFL
คอร์มิกซ์ เอเอฟแอล
เป็นน้ำยาผสมคอนกรีตเพื่อเร่งการเซ็ตตัวปราศจากอัลคาไลท์ เหมาะสำหรับใช้กับงานพ่นคอนกรีต (Shotcrete)
Elastoclad
อีลาสโตแคลด วัสดุเคลือบผิวเพื่อปกป้องคอนกรีต ผสมสารยั้บยั้งกระบวนการคาร์บอเนชั่น
(Anti Carbonation) ที่เป็นสาเหตุให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ
EN 1504-2 EN 1504 PART 9 – Principles & Methods Related to defect in concrete,
Principle 1Protection against ingress (PI),
Principle 2 Moisture control (MC)
8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต ในครั้งหน้าจะพาท่านไปทบทวนกระบวนยุทธงานซ่อมแซมคอนกรีตโดยวิธีใช้แบบหล่อและเครื่องปั๊ม (Form & Pump) และการเกราท์ ด้วยวิธี Preplaced aggregate กันครับ
อ่านบทความอื่น : | ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep2 |ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep1 | การซ่อมแซมและปกป้องเหล็กเสริม โครงสร้างชายฝั่งทะเล | ซ่อมแซมโครงสร้างทั้งที ต้องให้ดีกว่าสร้างใหม่ | ถูกฝา ถูกตัว Ep 1 | ถูกฝา ถูกตัว Ep2 | ถูกฝา ถูกตัว Ep3 | ถูกฝา ถูกตัว Ep4 | ถูกฝา ถูกตัว Ep5 | ถูกฝา ถูกตัว Ep6 | ถูกฝา ถูกตัว Ep7 | ถูกฝา ถูกตัว Ep8 | เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง | เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสน