“8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต” (3)
คอนเทนต์ซีรีย์ “ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหาจาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอดคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว
ใน Ep. 6 ที่ผ่านมาได้พาท่านไปทบทวนกระบวนยุทธพื้นฐานการซ่อมแซมคอนกรีตด้วยการพ่นคอนกรีตแบบแห้ง (Dry-mix shotcrete) และ การพ่นคอนกรีตแบบเปียก (Wet-mix shotcrete) สำหรับ Ep. ที่ 7 นี้ จะไปทบทวนอีก 2 กระบวนท่า คือ การใช้แบบหล่อและการใช้เครื่องปั๊ม (Form & Pump) และ วิธการเกรท์ แบบ (Preplaced Aggreagte)
“8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต”
กระบวนท่าที่ 5 การใช้แบบหล่อและเครื่องปั๊ม (Form & Pump)
Form & Pump คือการสร้างแบบหล่อแล้วปั๊มวัสดุซ่อมเข้าไปในโพรง ขั้นตอนก่อนการติดตั้งแบบหล่อจะต้องปรับพื้นผิวเดิมก่อน เนื่องจากอาจทำให้เกิดโพรงอากาศในระหว่างการปั๊มวัสดุซ่อม หรืออาจติดตั้งท่ออากาศ จากนั้นจึงปั๊มวัสดุซ่อมเข้าไปในแบบหล่อ
เคล็ดลับกระบวนท่าที 5: การใช้แบบหล่อและเครื่องปั๊มเหมาะกับงานซ่อมพื่นผิวแนวดิ่งและเหนือศรีษะ สำหรับการซ่อมพื้นผิวในแนวดิ่ง วัสดุซ่อมจะถูกปั๊มจากส่วนที่ต่ำไปส่วนพื้นที่สูง และเมื่อเป็นงานเหนือศรีษะคอนกรีตจะถูกปั๊มจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง การทำงานในพื้นที่ใหญ่ๆ อาจต้องมีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ เพื่อควบคุมการทำงานได้ง่าย เมื่อวัสดุเต็มแบบแล้วให้เพิ่มแรงดันเพื่อเพื่อให้วัสดุซ่อมแซมแน่นตัวเกิดการสัมผัสที่สนิมกับและได้แรงยึดเหนี่ยวกับผิวคอนกรีตเดิม
กฎเหล็กด้านวัสดุ: วัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซมจะต้องมีลักษณะการไหลตัวที่ดี ลักษณะการไหลที่ดีช่วยให้สามารถสูบได้ดีและการยึดวัสุดซ่อมกับโครงสร้างต้องทำให้เกิดการสัมผัสแน่นสนิทระหว่างวัสดุซ่อมใหม่กับวัสดุเดิม แรงดันของเครื่องปั๊มจะชวยทำให้เกิดรงที่จะเชื่อมวัสดุใหม่กับวัสดุเดิมเข้าด้วยกัน
วัสดุคู่กาย การใช้แบบหล่อและเครื่องปั๊ม:
Congrout FR:
คอนเกรท์ เอฟอาร์ ปูนนอนชริ้งค์ เกราท์ ชนิดพิเศษ ปกป้องคอนกรีตและเหล็กเสริมจากสนิม จึงช่วยไม่ให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ มีความทนทาน ลดความเสียหายของโครงสร้างเมื่อคอนกรีตได้รับความร้อนสูง และไม่หดตัว
EN1504 part 9
Principle 3: Concrete Restoration (CR).
Method 3.2 Recasting with concrete or mortar
Conpatch MC :
คอนแพทช์ เอ็มซี ปูนนอนชริ้งค์ เกราท์ ชนิดพิเศษ ทนต่อคลอไรด์และคาร์บอนไดออกไซด์ ไหลตัวได้ดี ให้การยึดเกาะดีเยี่ยม และไม่หดตัว เหมาะสำหรับงานซ่อมแซมคอนกรีตที่มีการใช้แบบหล่อและเครื่องปั๊ม และการเทซ่อม ในพื้นที่โครงสร้างทางทะเล, ชายฝั่ง หรือ สะพาน
EN1504 part 9
Principle 3: Concrete restoration (CR)
Method 3.2 Recasting with concrete or mortar
Principle 7: Preserving or restoring passivity (RP)
Method 7.1 Increasing cover to reinforcement with additional concrete or mortar
Method 7.2 Replacing contaminated or carbonatated concrete
Elastoclad :
อีลาสโตแคลด วัสดุเคลือบผิวเพื่อปกป้องคอนกรีต ผสมสารยั้บยั้งกระบวนการคาร์บอเนชั่น
(Anti Carbonation) ที่เป็นสาเหตุให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ
EN 1504 PART 9 – Principles & Methods Related to defect in concrete
Principle 1 Protection against ingress (PI)
Principle 2 Moisture control (MC)
กระบวนท่าที่ 6 – การเกรท์แบบ Preplaced aggregate
การเกรท์แบบ Preplaced aggregate คือ การนำวัสดุผสม (Aggregate) ขนาดคละขาดช่วง (Gap-graded) ใส่ลงไปในช่องว่างระหว่างการตั้งแบบหล่อ จากนั้นทำการปั๊มวัสดุเกราท์ ที่มีความสามารถในการไหลตัวสูงเข้าไปในแบบหล่อที่มีวัสดุผสม (Aggregate) เข้าไปเติมเต็มช่องว่าง,โพรง แล้วทำการอัดแรงดัน น้ำปูนเกราท์จะเข้าไปจับตัวกับวัสดุผสมทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยว วิธีการน้ำจะทำให้การหดตัวของวัสดุมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด เพราะการเข้าไปจับตัวของน้ำปุนเกราท์กับวัสดุผสมทำให้จำกัดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของน้ำปูนในขณะที่เกิดการหดตัว จึงทำให้การหดตัวมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
เคล็ดลับกระบวนท่าที่ 6: การเกรท์แบบ Preplaced aggregate เหมาะสำหรับการทำงานในแนวตั้งและเหนือศีรษะในกรณีที่ต้องการให้มีการหดตัวของวัสดุต่ำมากถึงมากที่สุด
กฏเหล็กด้านวัสดุ: ใช้วัสดุผสม (Aggregate) ขนาดคละขาดช่วง (Gap-graded) ในอัตราส่วน (40-50% ของปริมาตรของช่องว่าง) ใช้ปูนเกราท์ที่มึคุณสมบัติปั๊มได้ ไหลตัวได้ดี วัสดุมีค่าการยึดเกาะดีเยี่ยม (โดยวัสดุอาจจะเป็นซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือ เรเซิ่น) วัสดุผสมขนาด 1 นิ้ว (25 มม.) หรือ ขนาดที่ใหญ่กว่า แนะนำให้ใช้วัสดุซีเมนต์ในการติดตั้ง
วัสดุคู่กาย งานเกรท์แบบ Preplaced aggregate:
Congrout FR:
คอนเกรท์ เอฟอาร์ ปูนนอนชริ้งค์ เกราท์ ชนิดพิเศษ ปกป้องคอนกรีตและเหล็กเสริมจากสนิม จึงช่วยไม่ให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ มีความทนทาน ลดความเสียหายของโครงสร้างเมื่อคอนกรีตได้รับความร้อนสูง และไม่หดตัว
EN1504 part 9
Principle 3: Concrete Restoration (CR).
Method 3.2 Recasting with concrete or mortar
Elastoclad :
อีลาสโตแคลด วัสดุเคลือบผิวเพื่อปกป้องคอนกรีต ผสมสารยั้บยั้งกระบวนการคาร์บอเนชั่น (Anti Carbonation) ที่เป็นสาเหตุให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ
EN 1504 PART 9 – Principles & Methods Related to defect in concrete
Principle 1 Protection against ingress (PI)
Principle 2 Moisture control (MCr
8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต ในครั้งหน้าจะพาท่านไปทบทวนกระบวนยุทธงานซ่อมแซมคอนกรีตโดยวิธีใช้แบบการใช้แบบหล่อและการหล่อในที่ (Form and cast-in-place) ด้วย 2 วิธีการทำงานกันครับ
อ่านบทความอื่น : | ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep2 |ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep1 | การซ่อมแซมและปกป้องเหล็กเสริม โครงสร้างชายฝั่งทะเล | ซ่อมแซมโครงสร้างทั้งที ต้องให้ดีกว่าสร้างใหม่ | ถูกฝา ถูกตัว Ep 1 | ถูกฝา ถูกตัว Ep2 | ถูกฝา ถูกตัว Ep3 | ถูกฝา ถูกตัว Ep4 | ถูกฝา ถูกตัว Ep5 | ถูกฝา ถูกตัว Ep6 | ถูกฝา ถูกตัว Ep7 | ถูกฝา ถูกตัว Ep8 | เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง | เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสน