ตีแตกปัญหารอยร้าว เจาะลึกสาเหตุและวิธีการซ่อมอย่างมือโปร Ep.1

งานซ่อมรอยร้าวเป็นงานปราบเซียน ชวนปวดเศียรเวียนเกล้า ตั้งแต่ขั้นแรกที่ต้องเข้าไปวินิจฉัยปัญหาหน้างาน การเลือกวัสดุให้สอดคล้องกับปัญหาหน้างาน และยังต้องสร้างความมั่นใจให้กับที่ปรึกษาโครงการว่าจะสามารถแก้ปัญหารอยร้าวได้จริง คอนเทนท์ ซีรีย์ชุด ตีแตกปัญหารอยร้าว เจาะลึกสาเหตุและวิธีการซ่อมอย่างมือโปร  จะพาคุณแบ็คทูเบสิค ในเรื่องพื้นฐานและจะเพิ่มระดับความเข้มข้นในเรื่องของเทคนิคการพิชิตรอยร้าวที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์แบบมือโปร

 

 

รอยร้าว แหล่งสะสมพลังร้าย ทำลายโครงสร้างคอนกรีต

รอยร้าวมีผลต่อความยั่งยืนและความเสถียรของโครงสร้างคอนกรีต เพราะเมื่อรอยร้าวเกิดขึ้นก็เหมือนการแง้มประตูให้ความชื้นและน้ำเข้าซึมผ่านเข้ามาในคอนกรีต และเริ่มต้นการโจมตีที่เหล็กเสริมอย่างต่อเนื่องทำให้คอนกรีตเกิดการเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว รอยร้าวที่เกิดขึ้นมีหลายสาเหตุ ไม่เพียงแค่การที่รับโหลดมากเกินไป หรือการที่ซีเมนต์เพสต์ถูกโจมตีไปจนถึงเหล็กเสริมจากคลอไรด์ ซัลเฟต หรือ คาร์บอเนชั่น และยังรวมถึงการการทำงานหรือติดตั้งวัสดุไม่ถูกต้องตามขั้นตอนาตั้งแต่แรก

รู้จักรอยร้าว ให้มากขึ้น

เพื่อการซ่อมรอยร้าวให้โครงสร้างคอนกรีตมีความยั่งยืน จำเป็นต้องมีความเข้าใจปัญหาและสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้น

รอยร้าว สามารถแบ่งออกได้อย่างกว้าง ๆ ดังนี้

  • รอยร้าวเส้นผม (Hairline cracks) เป็นรอยร้าวที่มีความกว้างน้อยกว่า 0.1 มม. ไม่จำเป็นต้องเป็นยิงวัสดุเพื่อปิดรอยร้าว แต่สามารถใช้วัสดุกันซึมที่มีคุณสมบัติปิดรอยร้าวได้ เช่น คอนไทท์ ที่มีคุณสมบัติปิดรอยร้าวที่มีขนาดเล็กสุดจนถึง 0.5 มม.ได้
  • รอยร้าวจากการทรุดตัว (Settlement cracks) เกิดจากการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน
  • รอยร้าวที่เกิดจากการโก่งตัว (Bending cracks) : เป็นรอยร้าวที่ปรากฏที่มุมฉากของเหล็กเสริมและเกิดขึ้นโดยแรงดัด
  • รอยร้าวจากแรงเฉือน (Shear cracks) : เป็นรอยร้าวที่เกิดจากรอยร้าวดัด
  • รอยร้าวจากการหดตัว (Shrinkage cracks) : เป็นรอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวของคอนกรีตในขณะก่อตัว
  • รอยแตกแยก (Separation cracks or Vertical cracks) : เป็นรอยแตกร้าวในแนวดิ่ง เกิดจากความต้านทางแรงดึงต่ำของคอนกรีต

การซ่อมรอยร้าวสามารถแบ่งออกเป็นประเภท เช่น การซ่อมรอยร้าวเพื่อป้องกันการรั่วซึม, การปิดผิวคอนกรีตที่เกิดรอยร้าว, การซ่อมรอยร้าวในบริเวณที่ต้องการวัสดุที่มีความยืดหยุ่น และการเลือกวัสดุที่ให้ค่าการยึดเกาะที่ดีกับงานแต่ละประเภทหรือแต่ละสภาพแวดล้อม เช่น พื้นที่แห้ง พื้นที่เปียก พื้นที่ที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เป็นต้น

ประเภทของรอยร้าวที่ไม่เกี่ยวกับโครงสร้าง ( Non-Structural Cracks)

ประเภทของรอยร้าว

ตำแหน่งรอยร้าว 

( ตามภาพประกอบด้านล่าง)

ช่วงเวลาเกิดปัญหา

รอยร้าวจากการทรุดตัวขณะก่อตัว

รอยร้าวจากรหดตัวขณะก่อตัว

รอยแตกร้าวที่เกิดจากอุณหภูมิช่วงต้น

รอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวในระยะยาว

รอยร้าวแบบลายงา

รอยร้าวจากการกัดกร่อนของสนิมเหล็กเสริม

รอยร้าวจากปฎิกิริยา อัลคาไล-มวลรวม

A,B,C

D,E,F

G,H

I

J,K

L,M

N

ภายใน 10 นาที  – 3 ชั่วโมง

30 นาที – 6 ชั่วโมง

1 วัน – (2-3 สัปดาห์ )

หลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน

1-7 วัน หรือ อาจจะช้ากว่า

มากกว่า 2 ปี

มากกว่า 5 ปี

สิ่งสำคัญในการเลือกวัสดุในการอัดฉีดซ่อมรอยร้าว (Injection) ไม่เพียงแต่ต้องระบุสาเหตุของการเกิดรอยร้าวเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องกับขนาดของรอยร้าวหรือไม่ (ความกว้างและความยาวของรอยร้าว) รวมถึงต้องประเมินรอยร้าวและตรวจสอบว่ามีสิ่งปนเปื้อนที่อาจยับยั้งการยึดเกาะที่ดีระหว่างวัสดุอัดฉีดกับรอยร้าวนั้นหรือไม่

 

“ตีแตกปัญหารอยร้าว เจาะลึกสาเหตุและวิธีการซ่อมอย่างมือโปร” ในคอนเทนท์หน้าจะพาท่านไปหาสาเหตุของการเกิดรอยร้าวและแนวทางในการซ่อมแซมรอยร้าว รวมถึงการเลือกใช้วัสุดซ่อมรอยร้าว

@uus4272z

Share