สยบรอยแตกร้าว ที่เคลื่อนตัวได้ ในบริเวณพื้นที่แห้งของโรงงาน
คอนเทนท์ ซีรีย์ สยบ! รอยแตกร้าว ซึ่งเป็นตอนที่ 3 แล้ว โดยเรามีให้ติดตามกันเป็นซีรี่ย์ชุดๆทั้งสยบ รอยร้าว-รั่ว-ซึม ในโรงงาน ด้วย คอร์มิกซ์ รีแพร์ โซลูชั่น และ สยบ !! รอยแตกร้าวที่ไม่เคลื่อนตัวได้ บริเวณพื้นที่แห้งของโรงงาน สำหรับตอนนี้เป็นเรื่องของ รอยแตกร้าวที่เคลื่อนตัวได้ ในบริเวณพื้นที่แห้งโรงงาน
รอยร้าวมีเกณฑ์การแบ่งประเภทอย่างไร ?
โดยทั่วไปเกณฑ์ในการแบ่งลักษณะรอยร้าวมีด้วยกันหลายประเภท สำหรับ คอร์มิกซ์ได้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ รอยร้าวที่ไม่เคลื่อนตัว กับ รอยร้าวที่เคลื่อนตัวได้ เพื่อให้ง่ายสำหรับการวิเคราะห์ลักษณะรอยร้าวและการเลือกใช้วัสดุสำหรับงานซ่อมรอยร้าวที่เหมาะสม เรามาเจาะลึกปัญหารอยร้าวที่เคลื่อนตัวได้กันครับว่ามีแนวทางอย่างไร ที่ซ่อมออกมาแล้วงานดี ไม่มีคอมเพลน!
รอยร้าวที่เคลื่อนตัวได้ = รอยร้าวที่มีชีวิต
รอยร้าวที่เคลื่อนตัวได้ หรือ รอยร้าวที่ยังไม่หยุดการเคลื่อนตัว (Active, Moving Cracks) เป็นเหมือนรอยร้าวที่มีชีวิต เพราะสามารถพัฒนาขนาดไปได้เรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวจะมีการขยายตัว ทั้งความกว้าง ความยาว และความลึก รอยร้าวเหล่านี้เกิดจากการรับน้ำหนักเกินพิกัดและการขยายตัวจากอุณหภูมิ การซ่อมรอยร้าวลักษณะนี้ทำได้ยาก เนื่องจากรอยร้าวจะมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเลือกวัสดุซ่อมที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดรอยร้าวที่ตำแหน่งอื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความคงทนของโครงสร้างโดยตรง
คอร์มิกซ์ มีวัสดุซ่อมสำหรับรอยร้าวที่เคลื่อนตัวได้ ในบริเวณพื้นที่แห้ง มาแนะนำ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ คอนไทท์ พียูอี 200/อี201 และ คอนดัวร์ เอสซีซี
งานซ่อมรอยร้าวเคลื่อนตัวได้ที่ต้องการความยืดหยุ่นตัวสูง
ต้อง คอนไทท์ พียูอี200/อี201 ปิดรอยร้าวที่เคลื่อนตัวได้ ไร้กังวล!
คอนไทท์ พียูอี200/อี201 เป็นโพลียูรีเทน 2 ส่วนผสม มีความยืดหยุ่นตัว ใช้งานโดยการฉีด (Injection) เพื่อซ่อมรอยร้าวขนาดเล็ก สามารถใช้งานได้โดยตรงกับรอยร้าวที่แห้ง คอนไทท์ พียูอี200/อี201 มีข้อดีคือยึดติดกับพื้นผิวคอนกรีตแห้งได้ดี มีความหนืดต่ำจึงทำให้มีการไหลตัวดีตามรอยร้าว ตัววัสดุจะมีคุณสมบัติความยืดหยุ่นจึงสามารถจะทำการปิดรอยแตกร้าวที่ยังมีความเคลื่อนตัวอยู่ได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับโครงสร้างที่รองรับแรงสั่นสะเทือนสูงกว่า 2% และโครงสร้างมีความแข็งแรงอยู่แล้ว เช่น ผนัง พื้น
*คอนไทท์ พียูอี200/อี201 นอกจากเหมาะสำหรับพื้นที่แห้งแล้ว ยังสามารถใช้กับพื้นที่ที่มีความชื้นเล็กน้อยได้เช่นกัน”
รอยร้าวเคลื่อนตัวไม่มาก แต่ต้องการความแข็งแกร่ง ต้อง คอนดัวร์ เอสซีซี
“ปิดตาย” ปัญหารอยร้าว – “เติมความสตรอง” ให้กับโครงสร้าง
คอนดัวร์ เอสซีซี เป็นอีพ็อกซี่ความหนืดต่ำพิเศษ ชนิด 2 ส่วนผสม ใช้สำหรับซ่อมรอยร้าวขนาดเล็ก โดยวิธีการอัดฉีดน้ำยา (Injection) เข้าไปในรอยร้าวของคอนกรีต ด้วยความที่เป็นอีพ็อกซี่ความหนืดต่ำ(พิเศษ) จึงสามารถแทรกซึมผ่านรอยร้าวได้ลึก ให้การยึดเกาะดีเยี่ยม เชื่อมประสานรอยร้าวในคอนกรีตได้ดี และประสิทธิภาพที่โดดเด่นคือ ช่วยให้มีกำลังอัดและรับแรงดึงได้สูง เป็นการเสริมกำลังให้กับโครงสร้างไปในตัว
คอนดัวร์ เอสซีซี เหมาะสำหรับเป็นวัสดุซ่อมประสานโครงสร้างที่เป็นรอยร้าวในคอนกรีต เพื่อปิดรูโพรงในคอนกรีตและรอยร้าวที่เกิดขึ้น ตามส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆ เช่น เสา, คาน, ฐานราก, ชั้นดาดฟ้า และโครงสร้างน้ำดื่ม คอนดัวร์ เอสซีซี ใช้ได้กับ โครงสร้างที่รองรับการสั่นสะเทือนได้ไม่เกิน 2% ที่โครงสร้างคอนกรีตสามารถรับได้
เลือกแบบไหนดี คอนไทท์ คอนไทท์ พียูอี 200/อี201 VS. คอนดัวร์ เอสซีซี ?
คอนไทท์ พียูอี200/อี201 วัสดุจะมีความยืดหยุ่นตัวสูง เหมาะสำหรับซ่อมรอยร้าวโครงสร้าง ที่แห้งหรือมีความชื้นได้เล็กน้อย ใช้ได้กับโครงสร้างที่รองรับการสั่นสะเทือนหรือเคลื่อนตัวได้สูงกว่า 2% โดยโครงสร้างคอนกรีตมีความแข็งแรงอยู่แล้ว
คอนดัวร์ เอสซีซี เหมาะสำหรับงานรอยร้าวที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง ภายในโครงสร้างคอนกรีตต้องแห้ง หรือมีความชื้นน้อยกว่า 4% สามารถใช้กับโครงสร้างที่รองรับการสั่นสะเทือนได้ไม่เกิน 2% ที่โครงสร้างคอนกรีตสามารถรับได้
คอร์มิกซ์ มีวัสดุสำหรับงานซ่อมรอยร้าวให้เลือกหลายประเภท ตามความเหมาะสมกับปัญหาและสภาวะแวดล้อมหน้างานที่ต่างกัน หากคุณกำลังมองหาวัสดุสำหรับซ่อมรอยร้าว ติดตามการเลือกใช้วัสดุได้ตามเลือกใช้วัสดุได้ที่
อ่านบทความอื่น : สยบ! รอยแตกร้าวที่ไม่เคลื่อนตัวได้ Ep.1 | สยบ! รอยแตกร้าวที่ไม่เคลื่อนตัวได้ Ep.2 | แก้ปัญหาน้ำรั่วซึมจบถาวร | ยิงโฟมหยุดน้ำรั่วแก้ปัญหาชั่วคราวหรือถาวร | หยุดน้ำใต้ดินให้อยู่หมัดใน30 วินาที | โซลูชั่น ซ่อมรอยแตกร้าว |ฉีกทุกกฎ ของระบบกันซึม| เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง || เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสนใจ |