การเสื่อมสภาพในคอนกรีต
คอนเทนต์ซีรีย์ “ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหา จาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว ปิดตายความเสียหายก่อนเวลาหลังจากการซ่อมแซม สำหรับ Ep. 1 นี้ จะพูดถึงภาพรวมของสาเหตุการเสื่อมสภาพในคอนกรีตเพื่อทบทวนถึงสาเหตุหลักๆ ของการเสื่อมสภาพของคอนกรีต
ปฐมบทแห่งเสื่อมสภาพของคอนกรีต
การเสื่อมสภาพของคอนกรีตเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตามการเวลาและตามสภาพแวดล้อมของคอนกรีตคอนกรีตมักจะต้องเผชิญกับกระบวนการต่างๆของการเสื่อมสภาพที่ก่อให้เกิดกัดกร่อนและก่อให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างของคอนกรีตในที่สุด โดยอาจจะสัมผัสกับเกลือต่างๆ เช่น เกลือซัลเฟต, เกลือคลอไรด์, (ฝนกรด) รวมทั้งการเสื่อมสภาพทางชีวภาพ
โดยทั่วไปคอนกรีตมีสภาพแวดล้อมที่เป็นด่างสูง (อัลคาไลน์) สูง จึงทำให้เกิดฟิล์มที่ช่วยป้องกันเหล็กเสริมไว้ไม่ให้เกิดสนิมได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต อาจเกิดจากการปนเปื้อนของคลอไรด์ ที่มีอยู่ในโครงสร้างคอนกรีต หรือ ในสภาพแวดล้อมรุนแรงที่เอื้อต่อการที่คลอไรด์สามารถแพร่เข้าไปในเนื้อคอนกรีตได้
ปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น ประตูสู่ความเสื่อมสภาพในคอนกรีต
ในขณะที่ฟิล์มช่วยปกป้องเหล็กเสริมยังมีอยู่ จะยังคงเป็นวัคซีนป้องกันไม่ให้เกิดการกัดก่อนขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคอนกรีตเกิดปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่นจากการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมโฮดรอกไซด์ จะทำให้ค่า PH ในคอนกรีตลดลง จึงส่งผลให้ฟิล์มที่ปกป้องเหล็กเสริมถูกทำลาย เป็นการเปิดประตูบานแรกของความเสื่อมสภาพในเหล็กเสริม
“คลอไรด์” วายร้ายที่แทรกตัวเข้ามาทำลายคอนกรีต
คลอไรด์ เป็นตัวนำพาให้ให้เกิดการกัดกร่อนในคอนกรีตได้เช่นกัน แม้ว่าคอนกรีตจะอยู่ในสภาวะที่มีค่า PH สูงก็ตาม เมื่อคลอไรด์ แทรกซึมถึงเหล็กก็จะกัดกร่อนเหล็กเสริมและส่งผลต่อความเสื่อมขอคอนกรีตด้วยเช่นกัน เนื่องจากเกลือ หรือ ซัลเฟตสามารถโจมตีและสร้างความเสียหายให้กับคอนกรีตคอนกรีต โดยปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เกิดเป็นยิปซั่ม และ Ettringite สารประกอบ ยิปซั่ม และ Ettringite ทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสท์จนแตกร้าว หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านรอยร้าวเหล่านี้เข้าทำลายเหล็กเสริม ทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม และขยายตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้น
รวมถึงสภาวะทางทะเล เช่น โครงสร้างในทะเล หรือ ชายฝั่งทะเล ที่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำขึ้นน้ำลงก็ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพทางชีวภาพได้เช่นกัน
โดยสรุปแล้วคอนกรีตอาจสึกกร่อนได้โดยการสัมผัสหรือปนเปื้อน หลายปัจจัยคือ:
- คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
- คลอไรด์ในอากาศ
- น้ำทะเล หรือ ไอทะเล
- เกลือที่มีอยู่ในน้ำใต้ดิน
คอนเทนต์หน้าพบกับการพิจารณาเลือกวัสดุซ่อมที่สอดคล้องกับมาตรฐาน EN 1504
“ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง คอนเทนต์ซีรีย์ ชุดใหม่ที่รวบรวมแนวคิด
วิธีการซ่อม การเลือกใช้วัสดุ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมคอนกรีต เพื่อความเป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในงานซ่อมจาก Comix Repair Manual E-BOOK ที่ตกผลึกองค์ความรู้อย่าง Expert ได้สมบูรณ์แบบ”
อ่านบทความอื่น : | ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep2 |ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep1 | การซ่อมแซมและปกป้องเหล็กเสริม โครงสร้างชายฝั่งทะเล | ซ่อมแซมโครงสร้างทั้งที ต้องให้ดีกว่าสร้างใหม่ | ถูกฝา ถูกตัว Ep 1 | ถูกฝา ถูกตัว Ep2 | ถูกฝา ถูกตัว Ep3 | ถูกฝา ถูกตัว Ep4 | ถูกฝา ถูกตัว Ep5 | ถูกฝา ถูกตัว Ep6 | ถูกฝา ถูกตัว Ep7 | ถูกฝา ถูกตัว Ep8 | เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง | เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสนใจ |