ตีแตกปัญหารอยร้าว เจาะลึกสาเหตุและวิธีการซ่อมอย่างมือโปร Ep 2
งานซ่อมรอยร้าวเป็นงานปราบเซียน ชวนปวดเศียรเวียนเกล้า ตั้งแต่ขั้นแรกที่ต้องเข้าไปวินิจฉัยปัญหาหน้างาน การเลือกวัสดุให้สอดคล้องกับปัญหาหน้างาน และยังต้องสร้างความมั่นใจให้กับที่ปรึกษาโครงการว่าจะสามารถแก้ปัญหารอยร้าวได้จริง คอนเทนท์ ซีรีย์ชุด ตีแตกปัญหารอยร้าว เจาะลึกสาเหตุและวิธีการซ่อมอย่างมือโปร จะพาคุณแบ็คทูเบสิค ในเรื่องพื้นฐานและจะเพิ่มระดับความเข้มข้นในเรื่องของเทคนิคการพิชิตรอยร้าวที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์แบบมือโปร
รอยร้าวในคอนกรีตเกิดจากอะไร?
สาเหตุของการเกิดรอยร้าวโดยทั่วไปเกิดจาก
- การหดตัวของคอนกรีต (Shrinkage)
- ความร้อนหรือปฏิกิริยาไฮเดรชั่นระหว่างการบ่มคอนกรีต (Heat or hydration stresses)
- การคืบของคอนกรีต (Creep)
- คลอไรด์และเกลือที่ทำลายเหล็กเสริมและซีเมนต์เพสท์
- การบรรทุกเกินน้ำหนัก
- การกระแทก
- การทรุดตัว
- การเคลื่อนตัวของฐานราก
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
- ข้อจำกัดในการเปลี่ยนรูปของวัสดุ
ลักษณะความชื้นในรอยร้าวที่มือโปรต้องวิเคาะห์
สิ่งสำคัญในการซ่อมรอยร้าว คือ ต้องแยกความแตกต่างของสภาพชื้นในการซ่อมแซมรอยร้าวแต่ละประเภท โดยทางคอร์มิกซ์แบ่งประเภทรอยร้าวเป็น 4 ประเภทคือ
รอยร้าวแห้ง (Dry)
รอยร้าวแห้ง คือ รอยร้าวที่ไม่มีลักษณะปรากฏให้เห็นว่ามีการเคลื่อนตัวของน้ำหรือมีน้ำซึมออกมา
รอยร้าวที่มีความชื้น (Damp)
สีของรอยร้าวจะเปลี่ยนไปโดยการดูดซึมน้ำ สังเกตเห็นได้ชัดว่ามีความชื้นอยู่
รอยร้าวที่เปียก (Wet)
สีของรอยร้าวจะเปลี่ยนไปโดยการดูดซึมน้ำ สังเกตเห็นได้ชัดว่ามีความชื้นอยู่
รอยร้าวที่มีน้ำไหล (Flow)
จะมีลัษณะน้ำไหลผ่านออกมาจากรอยร้าวอย่างต่อเนื่อง
ซ่อมรอยร้าวต้องตีโจทย์ให้แตก
เพื่อเลือกโซลูชั้นในการแก้ปัญหาได้ตรงจุด !
โดยทั่วไปแล้วการซ่อมรอยร้าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการซึมเข้าของน้ำและสารที่เป็นอันตรายเข้าไปในคอนกรีตและเพื่อคืนความสมบูรณ์ของโครงสร้าง
คอร์มิกซ์ได้จัดหมวดการซ่อมรอยร้าวตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ไว้ดังนี้
- การซ่อมรอยร้าวกับวัสดุที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
- การซ่อมรอยร้าวและป้องกันการรั่วไหลหรือรั่วซึม
- การอุดรอยร้าวด้วยวัสดุที่สามารถขยายตัวได้
- การปิดรอยร้าวที่ให้ค่ายึดเกาะที่ดีและมีความยืดหยุ่นในรอยร้าวที่ยังต้องมีการเคลื่อนตัวอยู่
- การปิดรอยร้าวในโครงสร้างและสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างรอยร้าวที่มีการโอนถ่ายกำลัง
เลือกใช้วัสดุอย่างไรให้ ตอบโจทย์ จบงานรวดเร็ว ไร้ปัญหาลูกค้าเคลม!
หัวใจสำคัญสำหรับการเลือกวัสดุสำหรับงานซ่อมรอยร้าวคือ การเลือกใช้วัสดุได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการซ่อมและสภาพในการทำงาน วัสดุที่จะนำมาฉีดซ่อมรอยร้าวควรมีคุณสมบัติดังนี้การเลือกวัสดุฉีดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ฉีดควรมีคุณสมบัติบางประการ:
- ความหนืดที่เหมาะสมกับรอยร้าวที่จะซ่อม
- อายุการใช้งานหม้อนานพอที่จะทำงานในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง
- ยึดเกาะคอนกรีตได้ดี
- ไม่กัดกร่อนคอนกรีตหรือเหล็กเสริม
- ความเข้ากันได้กับวัสดุที่สัมผัสหรือยึดเกาะ
ผลิตภัณฑ์สำหรับซ่อมรอยร้าวของคอร์มิกซ์ ปราศจากตัวทำละลาย มีความหนืดต่ำ และคิดค้นสูตรมาเพื่อให้สามารถแทรกซึมเข้าไปในรอยร้าวที่มีความกว้างได้มากว่า 0.1 มม. มีกำลังในการยึดติดสูง ซึ่งจะทำให้สามารถคืนความทนทานและความสามารถในการรับน้ำหนักได้
คอร์มิกซ์ได้สรุปตารางในการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ดังนี้
อ่านบทความอื่น : | ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep2 |ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep1 | การซ่อมแซมและปกป้องเหล็กเสริม โครงสร้างชายฝั่งทะเล | ซ่อมแซมโครงสร้างทั้งที ต้องให้ดีกว่าสร้างใหม่ | ถูกฝา ถูกตัว Ep 1 | ถูกฝา ถูกตัว Ep2 | ถูกฝา ถูกตัว Ep3 | ถูกฝา ถูกตัว Ep4 | ถูกฝา ถูกตัว Ep5 | ถูกฝา ถูกตัว Ep6 | ถูกฝา ถูกตัว Ep7 | ถูกฝา ถูกตัว Ep8 | เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง | เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสนใจ |