รอยร้าวเล็ก ๆ ในโครงการเมกะโปรเจค เรื่องเล็กๆ… ที่ไม่เล็ก
ปัญหารอยร้าว. เป็นปัญหาที่พบเจอได้ทุกโครงการตั้งแต่โครงการบ้านจัดสรร จนถึงโครงการระดับอภิมหาโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั้งหลาย กรณีศึกษาที่น่าสนใจฉบับนี้ คือ วิธีการซ่อมแซมรอยร้าวสาหรับแท็งก์บรรจุก๊าซธรรมชาติเหลว คอร์มิกซ์มีแนวทางในการซ่อมแซมรอยร้าวหลายวิธี สำหรับฉบับนี้จะขอเสนอแนวทางการซ่อมด้วยวิธี Injection Repair
ความยิ่งใหญ่ของแท็งก์ที่มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 20,000 ตรม. ปรากฏรอยร้าว 0.3 มิลลิเมตร ขึ้นไป บริเวณใต้พื้นแท็งก์
การซ่อมเพื่อแก้ไขปัญหารอยร้าวดังกล่าว สามารถแก้ไขด้วยวิธี Injection โดยใช้วัสดุประเภทเรซิ่น คอนดัวร์ เอสซี (Condur SC) ด้วยคุณสมบัติของการเป็นอีพ็อกซี่ความหนืดต่ำ สำหรับงานที่ต้องการรับแรงสูง ฉีดเข้าไปในบริเวณรอยร้าว หลังจากที่ฉีดคอนดัวร์ เอสซี (Condur SC) 24 ชั่วโมง ใช้คอนดัวร์ เอฟซี (Condur FC) อีพ็อกซี่สำหรับปิดรอยหัวเจาะแพ็กเกอร์ [ที่ใช้ในการฉีด คอนดัวร์ เอสซี (Condur SC)] ซึ่งคอนดัวร์ เอฟซี (Condur FC) เป็นอีพ็อกซี่ 2 ส่วนผสม ปราศจากตัวทำละลาย สำหรับปิดพื้นผิวบริเวณที่มีรอยตาม รอยเจาะ หรือพื้นผิวที่มีความบกพร่องอยู่ ภายในการทำงาน 2 ขั้นตอนนี้ สามารถทำให้รอยร้าวที่มีนัยสำคัญต่อความแข็งแรงของโครงสร้างให้มีความแข็งแกร่งขึ้นมาได้ เนื่องจากการใช้งานจริงจะต้องมีการรองรับน้ำหนักของก๊าซธรรมชาติเหลว
ดังนั้น วัสดุที่นำมาซ่อมจึงต้องเป็นวัสดุเฉพาะที่รับแรงสูงและสร้างความมั่นใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในโครงการทุกๆ ฝ่าย ทั้งที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และเจ้าของโครงการ
อ่านบทความอื่น : สยบ! รอยแตกร้าวที่ไม่เคลื่อนตัวได้ Ep.1 | สยบ! รอยแตกร้าวที่ไม่เคลื่อนตัวได้ Ep.2 | สยบ! รอยแตกร้าวที่ไม่เคลื่อนตัวได้ Ep.3 | แก้ปัญหาน้ำรั่วซึมจบถาวร | ยิงโฟมหยุดน้ำรั่วแก้ปัญหาชั่วคราวหรือถาวร | หยุดน้ำใต้ดินให้อยู่หมัดใน30 วินาที | โซลูชั่น ซ่อมรอยแตกร้าว |ฉีกทุกกฎ ของระบบกันซึม| เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง || เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสนใจ |