EN 1504 โค้ด (ไม่ลับ) มาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีต

Ep. 3: EN 1504 โค้ด (ไม่ลับ) มาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีตที่ “มืออาชีพ” ต้องรู้

คอนเทนต์ซีรีย์ ถูกฝา ถูกตัว เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหา จาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว ใน Ep. 2 ได้นำเสนอ สนิมเกิดแต่เนื้อใน? ซึ่งเป็นเรื่องราว ของกระบวนการทางเคมีที่ทำร้ายเหล็กเสริมและคอนกรีต, ประเภทของการเสื่อมสภาพของคอนกรีต และไกด์ไลน์ซ่อมอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาเพอร์เฟค! สำหรับ Ep. 3 จะพาไปรู้จักกับมาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีตจากยุโรป หรือ European Standards (EN Standards)

ไม่อยากพลาดโอกาสในธุรกิจซ่อมแซมคอนกรีต

ต้องรู้จัก EN 1504 มิเช่นนั้นคุณจะตกขบวน!

EN Standard คือ มาตรฐานจากกลุ่มประเทศยุโรป ที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐาน  โดยกำหนดเป็นโค้ดหรือรหัสมาตรฐานยุโรป ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเพื่อกำหนดคุณสมบัติของวัสดุ วิธีการทดสอบวัสดุ และผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบอาคารและโครงสร้างทางวิศวกรรมโยธา

จากกระแสแนวคิดเรื่องความยั่งยืนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ที่กระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการก่อสร้างตื่นตัวและพัฒนากรอบแนวคิดมาสู่นวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนและความคงทนให้กับคอนกรีต

และไม่เพียงแต่เข้ามามีบทบาทในการก่อสร้างโครงการใหม่ๆ เท่านั้น ในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้างคอนกรีตก็เป็นอีกมิติที่ European Standards (EN Standards)ได้เข้ามากำหนดมาตรการในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันด้วยเช่นกัน

มาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีตล่าสุด EN 1504 เป็นมาตรฐานที่จะกลายมาเป็นข้อกำหนด,สเปคสำหรับงานซ่อมแซมคอนกรีต ที่ผู้เกี่ยวข้องในแวดวงการซ่อมคอนกรีตซึ่งมีทั้ง ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา ผู้ติดตั้งวัสดุ (แอพพลิเคเตอร์) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ก่อสร้าง และแม้กระทั่งเจ้าของโครงการเองต้องเริ่มศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของโครงการซ่อมแซมมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในแง่ของคุณภาพเชิงวิศวกรรม, เศรษฐศาสตร์ และความยั่งยืนของโครงสร้างคอนกรีตเป็นสำคัญ

เช่นนั้นแล้ว “มืออาชีพ” การซ่อมแซมคอนกรีตจึงต้องเร่งศึกษาเพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องกับมาตรฐาน  EN 1504 ด้วยเช่นกัน จึงจะไม่พลาดโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

EN 1504: ซ่อมอย่างไรเพื่อให้โครงสร้างคอนกรีตมีความยั่งยืน?

การซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้างคอนกรีตตามมาตรฐานใหม่ EN 1504 ประกอบด้วยการประเมินโครงสร้าง ตามด้วยทางเลือกต่างๆ หรือออพชั่นในการซ่อมแซม, หลักการและวิธีการป้องกันและซ่อมแซม และการบำรุงรักษาโครงสร้างเป็นตัวท้ายสุดสำหรับข้อปฏิบัติ

ตามลำดับขั้นตอนในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาคอนกรีตดังกล่าว ยังได้มีการกำหนดรายการต่างๆ สำหรับการซ่อมที่เกี่ยวข้องเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้: การประเมินสภาพความเสียหาย, การเตรียมพื้นผิว, การซ่อมแซมการบูรณะ,  การเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง, การปกป้องพื้นผิว, การอัดฉีดซ่อมรอยร้าว การปกป้องคอนกรีตเพื่อป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริม

มาตรฐาน EN 1504 ได้แบ่งมอร์ตาร์สำหรับการซ่อมแซมออกเป็น 2 ส่วนสำคัญดังนี้

สำหรับงานซ่อมแซมในส่วนที่ไม่ได้เป็นโครงสร้าง มีการแบ่งคลาส (class) วัสดุซ่อมแซมดังนี้

สำหรับงานซ่อมแซมที่เป็นโครงสร้าง มีการแบ่งคลาส (class) วัสดุซ่อมแซมดังนี้

R1 class
Compressive Strength ≥ 10 MPa
Chloride Ion content ≤ 0.05%
Adherence bond ≥ 0.8 MPa
R2 class
Compressive Strength ≥ 15 MPa
Chloride Ion content ≤ 0.05%
Adherence bond ≥ 0.8 MPa
R3 class
Compressive Strength ≥ 25 MPa
Chloride Ion content ≤ 0.05%
Adherence bond ≥ 1.5 MPa
R4 class
Compressive Strength ≥ 45 MPa
Chloride Ion content ≤ 0.05%
Adherence bond ≥ 2.0 MPa

วัสดุที่เลือกควรมีกำลังรับแรงอัดที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ระบุไว้, ให้การยึดเกาะดีเยี่ยม รวมถึงต้องมีการชดเชยการหดตัวของวัสดุด้วย

รวมถึงมิติด้านความคงตัวของวัสดุ, การขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน หรือการหดตัวเมื่อวัสดุแห้ง, ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำและการดูดซึมของน้ำ

การเลือกวัสดุซ่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้:

  • ข้อมูลสภาพความเสียหาย
  • ขนาดของการซ่อมแซม
  • ความต้องการในการซ่อมแซมของโครงการ / ของลูกค้า
  • เงื่อนไขในการซ่อมแซม เช่น การซ่อมแซมปัญหาที่เกิดจากคลอไรด์, คาร์บอนไดออกไซด์, น้ำแรงสั่นสะเทือน ฯลฯ
  • การปกป้องคอนกรีตในขั้นตอนสุดท้าย
  • การเลือกวัสดุซ่อมที่สอดล้องกับลักษณะโครงสร้างที่ต้องการซ่อม เช่น วัสดุสำหรับการซ่อมแซมโครงสร้างหรือไม่ใช่โครงสร้าง

แนวทางเพื่อให้การซ่อมแซมคอนกรีตประสบความสำเร็จ:

  • การตรวจสอบสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
  • ทราบถึงข้อกำหนดการออกแบบของโครงสร้างว่าคืออะไร
  • การปฏิบัติในขณะซ่อมแซมบูรณะต้องสอดคล้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • พิจารณาถึงการใช้งานโครงสร้างในอนาคต
  • มูลค่าของอายุโครงสร้างเมื่อซ่อมเสร็จแล้วสามาถยืดอายุยาวนานเท่าไร
  • ลักษณะงานซ่อมเมื่อแล้วเสร็จตรงตามความต้องการตามที่ลูกค้าคาดหวังหรือตามเงื่อนไขการซ่อมแซมบูรณะ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการซ่อมแซมคอนกรีต ได้แก่:

  • การใช้งานวัสดุและการบ่มวัสดุ ไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในเอกสารข้อมูลผลิตภัณฑ์
  • สเปคงานซ่อมมีความผิดพลาดไม่สอดคล้องกับโครงสร้าง, หรือการเลือกวัสดุไม่ถูกต้องกับปัญหา
  • ไม่ได้เป็นการซ่อมในสาเหตุที่แท้จริงของการเสื่อมสภาพในคอนกรีต
  • เกิดจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดีพอ
  • วิเคราะห์ปัญหาผิด / วิเคาะห์สาเหตุของการเสื่อมสภาพผิด

คอนเทนต์หน้าพบกับการพิจารณาเลือกวัสดุซ่อมที่สอดคล้องกับมาตรฐาน EN 1504

“ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง คอนเทนต์ซีรีย์ ชุดใหม่ที่รวบรวมแนวคิด วิธีการซ่อม การเลือกใช้วัสดุ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมคอนกรีต เพื่อความเป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในงานซ่อมจาก Comix Repair Manual E-BOOK ที่ตกผลึกองค์ความรู้อย่าง Expert ได้สมบูรณ์แบบ”

Share