“การเตรียมพื้น” กุญแจดอกแรก ของงานซ่อมคอนกรีตที่สมบูรณ์แบบ

คอนเทนต์ซีรีย์ “ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหา จาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว ใน Ep. 3 ได้พาไปรู้จักกับ มาตรฐานการซ่อมแซมคอนกรีตจากค่ายยุโรป หรือ European Standards (EN Standards) สำหรับ  Ep. 4 จะเข้าสู่ขั้นตอนการซ่อมแซมคอนกรีต โดยจะย้ำเตือนถึงหัวใจสำคัญของพื้นฐานการซ่อมคือ การเตรียมพื้นผิวเพราะเป็นขั้นตอนที่มักจะถูกมองข้าม ซึ่งที่จริงแล้วการเตรียมพื้นผิวคือกุญแจดอกแรกที่จะส่งผลให้งานซ่อมออกมาสมบูรณ์แบบ

“กูญแจดอกเรก” เตรียมพื้นผิวงานซ่อมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!

การเตรียมพื้นผิวดูเหมือนเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ได้ให้สำคัญเท่าไร แต่สำหรับงานซ่อมแซมคอนกรีตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก! เพราะเป็นเหมือนจุดสตาร์ทก่อนออกวิ่ง ถ้าออกตัวได้ไม่ดีผลลัพธ์ของงานที่ออกมาก็จะไม่สมบูรณ์เช่นกัน

การเตรียมพื้นผิวสำหรับงานซ่อมคอนกรีตในเบื้องต้นเริ่มจากการทำเครื่องหมายในบริเวณที่เสียหายโดยขยายพื้นที่ที่จะทำการแก้ไขให้มากกว่าบริเวณที่คอนกรีตเสียหายอย่างน้อย 15 ซม.

ทำการสกัดผิวคอนกรีตโดยรอบบริเวณที่เสียหายจนเห็นเหล็กเสริม ควรกำจัดคอนกรีตที่ปนเปื้อนคลอไรด์ออก และขจัดสนิมในบริเวณเหล็กเสริมออกให้หมด หากพื้นที่ที่ต้องการซ่อมอยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถขจัดสนิมออกได้ 100% ควรใช้วัสดุพิเศษที่สามารถปกป้องคอนกรีตโดยที่ไม่ต้องสะอาดหรือขจัดสนิมในเหล็กเสริม รวมถึงควรพิจารณาใช้สารยับยั้งการกัดกร่อนในคอนกรีต

*สำหรับวัสดุของ คอร์มิกซ์ที่มีท้ายชื่อในซีรีย์ว่า CI (Corrosion Inhibitors) จะเป็นวัสดุที่มีสารยังยั้งการเกิดสนิมในเหล็กเสริม

ในการประเมินสภาพคอนกรีตนอกเหนือจากปริมาณคลอไรด์ในบริเวณที่ต้องการซ่อมแซมแล้ว ควรตรวจสอบค่า pH ของเหล็กเสริม หากพบว่ามีปริมาณคลอไรด์สูงเกินไป ควรใช้สารยับยั้งการกัดกร่อนในคอนกรีตเพื่อป้องกันการกัดกร่อนในอนาคตได้

ทำความสะอาดให้หมดจด อย่าปล่อยให้เศษปูน ซากสนิม  เป็นสาเหตุให้งานพัง!

การขจัดคอนกรีตที่เสียหายควรขยายไปตามแนวเส้นเหล็กเสริมจนกว่าจะไม่มีการแตกร้าวหรือการหลุดล่อนอีก หรือจนกระทั่งเห็นเหล็กเสริมมีสภาพที่ดีและยึดติดกับคอนกรีตได้ดี ในกรณีที่คอนกรีตมีความเสียหายรุนแรงจำเป็นต้องขจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ออกให้หมด ขอบของแนวที่ต้องการซ่อมควรทำการสกัดเป็นแนวดิ่งและไม่มีคม ความลึกของคอนกรีตควรมีความสม่ำเสมอและเปิดให้เห็นเหล็กเสริม

การขจัดสิ่งปนเปื้อนบนคนกรีตที่มีแรงกระแทกเชิงกล  อาจทำให้คอนกรีตเสียหายหรือแตกหักได้ การทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงหรือการใช้เครื่องขัดผิวคอนกรีตแบบพ่น หรือ เครื่องพ่นทราย จะช่วยขจัดสิ่งเศษปูน เศษฝุ่น คราบน้ำมัน คราบจาระบี หรือ คราบวัสดุเชื่อมประสานอื่นๆ เหล็กเสริมควรขจัดคราบสนิมออกให้หมด

หากเหล็กเสริมแรงสูญเสียพื้นที่หน้าตัดไปควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างอาจจำเป็นต้องมีการเสริมแรงเสริมและควรขยายออกไปนอกพื้นที่ที่เสียหาย

ก่อนที่จะมีการใช้วัสดุซ่อมกับหน้างานควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรก ฝุ่น ทราย กรวด หรือหิน ที่หลุดล่อน ก่อนใช้วัสดุเชื่อมประสานคอนกรีต

อาจมีข้อกำหนดการทดสอบผิวคอนกรีตโดยวิธีทดสอบแรงดึงบริเวณผิวคอนกรีต (Pull-Off Test) เพื่อหาความสามารถในการยึดเกาะของผิวคอนกรีตเดิมกับวัสดุที่จะใช้ซ่อม เพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพของงานซ่อม

ข้อปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานการเตรียมพื้นผิวสำหรับงานซ่อมคอนกรีตที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าได้ทำครบถ้วนกระบวนความแล้ว มั่นใจได้ว่างานของคุณสำเร็จมาแล้วครึ่งทาง อีกครึ่งทางที่เหลือคือการทำงานถูกต้องตามขั้นตอนและเลือกวิธีการซ่อมที่สอดคล้องกับผู้ผลิตวัสดุซ่อมแนะนำให้ปฏิบัติ เพื่อวัสดุจะได้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เพราะงานซ่อมแซมคอนกรีตไม่ได้สำคัญน้อยกว่างานสร้างและ “เราไม่สามารถเลี่ยงความรับผิดชอบของวันพรุ่งนี้ โดยการเลี่ยงมันวันนี้ได้” อย่างที่ อับราฮัม ลินคอล์น กล่าวไว้

ฉะนั้นผู้ที่ทำงานในโครงการซ่อมแซมคอนกรีตจึงต้องใส่ใจรายละเอียดในทุกๆ ขั้นตอนการทำงานตั้งแต่จุดสตาร์ท เพื่อให้ได้ “งานดี” เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ดี ก็เป็นการสะสมพอร์ตฟอลิโอ เพื่อเปิดรับโอกาสเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้

คอร์มิกซ์ ยินดีให้คำปรึกษางานซ่อมแซมคอนกรีตด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณสบายใจทั้งผู้รับเหมาและเจ้าของโครงการ คลิก 

 

Share