คุณรู้หรือยัง อุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่สองของไทยอยู่ที่ไหน?

จากเรื่องราวของ อุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้อยู่ในน้ำ!! นับเป็นเวลามาจนถึงวันนี้ ได้เปิดใช้งานมาอย่างเป็นทางการกว่า 3 ปีแล้ว สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วง หัวลำโพง-บางแค ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งมีความท้าทายสำหรับผู้รับเหมาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากเป็นการก่อสร้างที่ไม่ได้ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง อย่างที่หลายคนจินตนาการกันไปก่อนหน้านี้ แต่เป็นการสร้างลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาลึกลงไปอีก จนกลายเป็นหนึ่งในโครงการที่ท้าทายสำหรับวงการก่อสร้างของประเทศไทย

โดยอุโมงค์ช่วงลอดใต้จุดกึ่งกลางแม่น้ำมีความลึก 30.86 เมตร และแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่อุโมงค์ลอดลึกสุดประมาณ 20 เมตร ความลึกจากใต้ท้องน้ำถึงหลังอุโมงค์ 9.71 เมตร ที่จุดกลางแม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับลักษณะการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินนี้ จะใช้วิธีการขุดเจาะโดยใช้หัวเจาะ TBM โดยทำการขุดเจาะด้วยระบบ Earth Pressure Balance เป็นระบบที่คงแรงดันดินขณะเดินเครื่องขึดเจาะ เพื่อนป้องกันความเสียหายจาการทรุดตัวของอาคารรอบข้าง เมื่อทำการขุดเจาะไปแล้วจะมีการติดตั้งผนังอุโมงค์ตามไปเรื่อยๆ โดยชิ้นส่วนที่ติดตั้่งจะเป็นชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป (Tunnel Segment) มาประกอบกันเป็นผนังของอุโมงค์ เซ็กเมนต์ชิ้นส่วนผนังอุโมงค์ที่มาประกอบกันนี้ ต้องการการติดตั้งวัสดุเพื่อปิดทับรอยต่อของแต่ละเซ็กเมนต์ เพื่อป้องกันน้ำที่อาจซึมไหลเข้ามาในอุโมงค์ได้ สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษในขั้นตอนการติดตั้งนี้ คือต้องระวังการป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินซึมเข้ามาในอุโมงค์ นั่นเอง

อุโมงค์รถไฟฟ้าแห่งที่สองของไทย

ดังนั้น ในไม่อีกกี่ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยก็จะมีอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่สองของไทย อยู่ที่บริเวณวังบูรพาถึงสะพานพุทธยอดฟ้า โดยเป็นตำแหน่งที่ตั้งสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย (ช่วงใต้) : เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในชื่อว่า สถานีสามยอด (วังบูรพา) และสถานีสะพานพุทธยอดฟ้า นั่นเอง สำหรับรูปแบบการก่อสร้างนั้นจะใช้รูปแบบเดียวกันกับโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ส่วนงานสถาปัตยกรรมจะเป็นรูปแบบไหน งดงามอย่างไร รอติดตามกันต่อได้ในไม่กี่ปีนี้

PL-24 (1)
Share